วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมเทคโนโลยีในอีเลิร์นนิง (Innovative Technology in e-Learning)



รูปที่ 1: Meme Map แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Web 2.0 (www.jswidget.com)


รูปที่ 2: วิวัฒนาการของ Web Technology ( www.radarnetworks.com)

ชื่อกลุ่ม ........... เกี่ยวก้อยร้อยใจไปทั้ง 7.....................................

การกำหนดบทบาทในการจัดการกิจกรรมกลุ่มให้แก่สมาชิก ดังนี้
1. ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ชื่อ………คุณกุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา…………………….
2. ผู้บันทึก (note taker) ชื่อ………คุณจันทร สุนัยรัตนาภรณ์…………………………
3. สมาชิก (member) ชื่อ………พระมหาบุญชัช เมฆแก้ว…………………………..
4. สมาชิก (member) ชื่อ………คุณกมลศักดิ์ สุระดม……………………………….
5. สมาชิก (member) ชื่อ………คุณกานต์พิชชา จีระะศิริ……………………………
6. สมาชิก (member) ชื่อ………คุณสรรธิป ฉายพันธ์………………………….……
7. สมาชิก (member) ชื่อ………คุณอุมาจินต์ คงคา…………………………………

บันทึกข้อสรุปของกลุ่ม

1. บันทึกข้อสรุปของกลุ่มที่ได้จากการศึกษาเอกสารหลักและเอกสารเสริมของสัปดาห์นี้ (อย่างน้อยประมาณ 1 หน้ากระดาษ)

นวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับการจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะเน้นการสร้างและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ผ่านช่องทางการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งช่องทางที่สำคัญ คือ ระบบอินเตอร์เน็ตโดยมีการใช้ Web ช่วยในการสื่อสาร ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรม Web จึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยในการเรียนการสอน โดยนวัตกรรมของ Web เทคโนโลยีนั้นได้ถูกแบ่งเป็น 4 ช่วง ดังนี้ Web 1.0, Web 2.0, Web 3.0 และ Web 4.0 ซึ่งในปัจจุบัน (ค.ศ. 2009) เป็นช่วงปลายของเทคโนโลยี Web 2.0 ทั้งการพัฒนาและการนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้

ความแตกต่างระหว่าง Web 2.0 และ Web 1.0
- Web 1.0 ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการรับข้อมูลข่าวสารโดยผ่านการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน กับ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เน้นการให้ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์เป็นหลัก (One–way communication) โดยผู้ใช้งานไม่สามารถ Update ข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ได้ การจัดการเนื้อหาเว็บถูกผูกขาดกับเว็บมาสเตอร์แต่เพียงผู้เดียว
- Web 2.0 คือ พัฒนาการของเว็บไซต์ที่เน้นความร่วมมือ(Collaboration) ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้มากยิ่งขึ้น ผู้ใช้สามารถเข้ามาจัดการกับเนื้อหาบนหน้าเว็บได้ ผู้ชมก็มีสิทธิ์ร่วมสร้างสรรค์ แก้ไขเนื้อหาในเว็บไซต์ได้(กรณีได้รับสิทธิ์) ซึ่งลักษณะของเนื้อหาใน Web 2.0 จะเอื้อต่อการโต้ตอบกันของผู้ใช้งาน (Two–way communication) เช่น Blog หรือการ Post กระทู้ต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งปันเนื้อหาซึ่งกันและกัน ทำให้การสื่อสารในระบบออนไลน์มีรูปแบบเป็นเครือข่าย นอกจากนี้เว็บ 2.0 ยังเปิดโอกาสในการนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาติดตั้ง (Add-on , Plug – in) ได้ด้วย เช่น AJAX , Web Log , Web Feeds ; rss , Atom , Podcast , และ Social Networking ที่คุ้นเคยกัน เช่น Hi5 , Facebook หรือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและมีส่วนร่วม เช่น Wiki

Tim O’Reilly(ผู้สร้างคำนิยามของ Web 2.0) ได้เน้นความสำคัญของ Web 2.0 ไว้สองประการได้แก่ Usability (ความสะดวกในการใช้งาน) , Sharing(การแบ่งปันข้อมูล) และได้แยกความแตกต่างระหว่างเว็บ 1.0 และ 2.0 ได้พอสรุปดังนี้

Web 1.0
Web2.0
Static
Dynamics
View
Interactive
One way
Two way
Spectator
Participant

ตัวอย่างของนวัตกรรม web 2.0 เช่น Tag cloud, RSS (Really Simple Syndication), YouTube, Google Docs/Presentation, Google Translate, Google Calendar, Creative Commons Attribution 3.0 License

เทคโนโลยีที่สำคัญของ Web 2.0
- AJAX เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการสร้าง User interface ที่สามารถใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นบนเว็บ ตัวอย่าง Web 2.0 application ที่นำ AJAX ไปใช้ก็เช่น Gmail, Google Docs & Spreadsheets, Google Calendar, Google map เป็นต้น
- XML และ Web services ใช้ในการทำให้ Web 2.0 application สามารถทำการ integrate functional ในการทำงานร่วมกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ตัวอย่าง application เช่น การติดตามข่าวสารที่สนใจโดยใช้ RSS feeds

คุณสมบัติของเทคโนโลยี Web 2.0
- ให้ความสำคัญผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งผู้เข้าชมสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาของเว็บไซต์ และสามารถทำการกำหนด keyword ของเนื้อหาได้ (Tag) เช่น Youtube, Flickr, Wiki
- คุณสมบัติที่เรียกว่า Rich Internet Application (RIA) ลักษณะของ User interface ของ application ใน Web 2.0 ง่ายต่อการใช้งาน มีลักษณะ Drag and Drop ตัวอย่างของเทคโนโลยีดังกล่าว AJAX, Flash
- คุณสมบัติ mash-up ของ Web application คือ การใช้ service ต่าง ๆ ของ Web อื่น ๆ ร่วมกัน และ สามารถ เปิด service ของ Web application ตนเองให้ผู้อื่น สามารถนำไปใช้งานได้ ตัวอย่างของเทคโนโลยีดังกล่าว เช่น Feeds, SOA , Web Services

สรุปคุณลักษณะของ Web 2.0
ทำให้เกิดการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่หลากหลายและน่าสนใจ รวมถึงวิธีการดำเนินธุรกิจออนไลน์ด้วยแนวทางใหม่ๆ ดังนี้
- ลักษณะเนื้อหามีการแบ่งเป็นส่วน ๆ บนหน้า Web page ข้อมูลถูกเปลี่ยนจากข้อมูลก้อนใหญ่มาเป็นก้อนเล็ก
- เนื้อหาจะมีการจัดเรียงและจัดกลุ่มมากขึ้นกว่าเดิม
- การให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน
- เกิดโมเดลทางธุรกิจที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นและทำให้ธุรกิจเว็บไซต์กลายเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล
- ผู้ใช้สามารถเข้ามาจัดการเนื้อหาบนหน้าเว็บได้ และสามารถแบ่งปันเนื้อหาที่ผ่านการจัดการให้กับกลุ่มคนในโลกออนไลน์ได้ทำให้เกิดกิจกรรมในระบบ Online ร่วมกันได้มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง Web 2.0
1. http://netvibes.com/
2. http://protopage.com/
3. http://www.pageflakes.com/
4. http://zohowriter.com
5. http://www.writely.com
7. http://go2web20.net/

คุณลักษณะ Web 3.0
จากคุณลักษณะของ Web 2.0 ทำให้ข้อมูลได้ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงเกิดแนวความคิดในการจัดการข้อมูลจำนวนมาก ๆ ซึ่งก็คือที่มาของเทคโนโลยี Web 3.0 โดย Web 3.0 จะเน้นการจัดการข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี Metadata และ Semantic Web
- Metadata คือ ข้อมูลที่มีโครงสร้างเป็นหมวดหมู่ (Structure Data) เพื่อใช้สำหรับการอธิบายความหมายของข้อมูลอื่น ๆ
- Semantic Web คือ ระบบการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กันทั้งข้อมูลที่อยู่ใน Web ของผู้พัฒนาเอง และ ใน Web ของผู้อื่น
การเพิ่มความหมายของข้อมูล (Metadata) ให้กับข้อมูลที่เราต้องการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมในการเข้าใจความหมายของข้อมูลและทำการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ โดยอัติโนมัติ ซึ่งทำให้การจัดการข้อมูลในเว็บได้มากขึ้น และดีขึ้น จากความสามารถดังกล่าวทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสดวกในการเข้าถึงเนื้อหาข้อมูลและค้นหาข้อมูลบน Web ที่ตรงกับความต้องการได้อย่างรวดเร็ว
คุณลักษณะ Web 4.0

เป็นลักษณะของ Learning Web โดยการใช้เทคโนโลยี Intelligent personal agents ซึ่ง Web ในลักษณะนี้จะมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้มากยิ่งขึ้นสามารถเรียนรู้และประมวลผลได้ด้วยตนเอง เช่น การประมวลว่า Web ลักษณะใดที่เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน

2. แนวทางในการนำ นวัตกรรม Web 2.0 มาใช้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสมาชิกกลุ่ม

การนำเอานวัตกรรม Web 2.0 มาใช้ในการเรียนการสอนนั้นสนับสนุนการเรียนรู้ในลักษณะ Constructivism(การสร้างความรู้ด้วยตนเอง) การเรียนรู้ในแนวทางของ Constructivism นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการประยุกต์เข้าสู่การสร้างสิ่งแวดล้อมของการเรียนแบบร่วมมือด้วยการสนับสนุนจากคอมพิวเตอร์ (Computer support collaborative learning-CSCL) ด้วยคุณลักษณะที่สำคัญของ Web 2.0 ที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative learning) เพราะ Web2.0 ได้ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิสัมพันธ์ต่อการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสืบหาคำตอบในสิ่งที่ตนต้องการรู้และสะท้อนแนวความคิดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้ง

นอกจากนี้สิ่งที่ควรคำนึงถึงในเรียนรู้รูปแบบดังกล่าว คือ นโยบายการเรียนการสอน กรอบความคิด และครูผู้รับผิดชอบ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการนำเอานวตกรรมดังกล่าวมาใช้ในการเรียนการสอน

ดังนั้นสมาชิกในกลุ่ม 3 ได้นำเสนอตัวอย่างของเทคโนโลยี Web 2.0 ที่ควรจะนำมาใช้ร่วมกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนี้คือสื่อการเรียนการสอนที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ Wiki, Blog & RSS, Social Network, Podcast, Flickr, Google Earth, Social Network

1. เว็บล็อก (Blog)
เป็นเครื่องมือสื่อสารผ่านระบบเว็บ โดยที่เจ้าของบัญชีสามารถเขียนและแก้ไขข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำเสนอข้อความ ภาพนิ่งกราฟิก เสียง และวิดีโอได้ ซึ่งการเขียน Blog นั้นอาจจะเป็นการเขียนร่วมของกลุ่มผู้เรียนได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้อ่านสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ แสดงความคิดเห็นวิจารณ์ในงานเขียนตลอดจนการติดตามงานเขียนดังกล่าวได้ ซึ่ง Blog ส่วนใหญ่จะมีเครื่องมือสืบค้น หรือผ่านเครื่องมือการจัดส่ง RSS ซึ่งการที่ผู้อ่านสามารถวิจารณ์ และ linkไปยัง Website ที่เกี่ยวข้องได้ ทำให้สดวกในการอ่านต่อและติดตาม

ข้อดีและการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน
- ผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนความคิดและการเรียนรู้ของตนเองในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้หากผู้เรียนมีความสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษผู้เรียนก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่นวัตกรรมทางความคิดของผู้เรียนเองได้ในที่สุด
เช่น หากเด็กนักเรียนคนหนึ่งสนใจการพัฒนาเว็บไซต์ ต่อมาเขาก็จะหารูปแบบที่เขาสนใจ และเรียนรู้โปรแกรมสำหรับเขียนเว็บ จากนั้นเขาก็จะมองหาองค์ประกอบที่จะทำให้ออนไลน์ได้ ซึ่งกระบวนการต่างๆ นั้นหากเกิดขึ้นได้จริงต้องใช้เวลาและลำดับขั้นของการเรียนรู้ และหากเด็กคนนั้นมีความชำนาญเมื่อโตมาระดับหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงน่าจะเกิดขึ้นเมื่อโอกาสที่เหมาะสมในการค้าขายผ่านระบบออนไลน์ หรือ E-Commerce ได้
- ผู้เรียนได้แสดงและรับความคิดเห็นในงานเขียนของตนได้จากทั้งผู้สอนและบุคคลอื่น ๆ ภายใน blog ของบทความนั้น
เช่น นักเรียนนำผลงานของตนเองซึ่งได้แก่ผลงานการจัดทำโครงงาน (ซึ่งทำได้ทุกกลุ่มสาระ ฯ) มานำเสนอในเว็บล็อก และให้เพื่อนๆ ผลัดกันเข้าไปเยี่ยมชมหรือนำเสนอหน้าชั้นเรียน ส่วนนักเรียนในกลุ่มสาระการงานอาชีพอาจนำผลงานด้านการงานอาชีพมาเสนอขายกันในเว็บล็อกก็ สามารถทำได้ซึ่งถือว่าเป็น Mini company เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ฝึกให้นักเรียนเปิดการค้าขายแบบออนไลน์
- ผู้เรียนสามารถใช้แสดงถึงผลงานกลุ่ม และใช้เป็นที่รวม link ไว้ด้วยกัน
- ผู้สอนสามารถรับ/ส่ง บทความต่าง ๆ หรือ ความคิดเห็นภายใน blog ไปยังกลุ่มผู้เรียนด้วย RSS ซึ่งการปล่อย Feed เนื้อหาของตนให้ Blog อื่นๆ รับและแสดงเนื้อหาบน Blog เป็น การรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันอย่างมีความหมาย (Aggregation)

สิ่งที่ควรคำนึงถึง
- ผู้เรียนส่วนใหญ่โดยเฉพาะในรูปแบบของวัฒนธรรมของคนไทยไม่สะดวกใจในการเปิดเผยข้อมูลการบันทึการเรียนรู้ให้ผู้อื่นได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
- ผู้สอนควรดำเนินการติดตามงานของผู้เรียนเพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายของผู้เรียน
- การนำเสนอข้อมูลของผู้เรียนซึ่งควรจะต้องมีการตรวจตราเนื้อหาและความเหมาะสมโดยครูผู้สอน

ตัวอย่าง Weblog ของสมาชิกในกลุ่มที่ครูผู้สอนได้นำมาใช้เชื่อมโยงการเรียนรู้กับผู้เรียน
- http://learners.in.th/portal/kulachatrakul ซึ่งได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษา เลือกใช้ Blog อะไรก็ได้ในการทำ Blog ที่ตนเองสนใจและสร้างบทความเกี่ยวกับรายวิชาระบบสารสนเทศทางการตลาด แล้วประกาศ URL ไว้ในระบบ E-Learning ของมหาวิทยาลัย แล้วให้เพื่อนๆ เข้าไปเยี่ยมชมพร้อม Comment อย่างน้อยคนละ 3 blog
จากการเรียนการสอนด้วยการใช้ Blog มาเป็นส่วนเสริมของการเรียนในชั้นเรียนได้รับการตอบรับจากนักศึกษาาค่อนข้างดี นักศึกษาสนใจและเข้าใจการใช้เว็บให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

2. วิกิ (Wiki)
เป็นสื่อที่อนุญาตให้ผู้ใช้จากหลากหลายที่ได้เขียน ดัดแปลงแก้ไข และเผยแพร่ข้อมูล เปรียบเหมือนให้กลุ่มคนนั่งล้อมวงเพื่อเขียนและแก้ไขงานด้วยกัน โดยสามารถนำเสนอข้อความ ภาพนิ่งและกราฟิก ซึ่งสนับสนุนการเรียนในลักษณะ online ได้เป็นอย่างดี

ข้อดีและการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน
- ผู้เรียนสามารถบันทึกและร่วมทำงานในพื้นที่เอกสารส่วนกลางร่วมกันได้
- ช่วยอำนวยความสดวกในการติดตามงานเขียนร่วมกันของของกลุ่มผู้เรียนได้
- สามารถสร้าง link ไปยังส่วนต่างๆ ที่ต้องการอ้างอิงถึงได้

สิ่งที่ควรคำนึงถึง
- การแก้ไขเอกสารผู้เรียนสามารถกระทำได้อย่างเสรีซึ่งการปรับแก้ไขจากผู้เรียนบางคน อาจจะไม่สะท้อนภาพความคิดโดยรวมของกลุ่ม

3. Podcasts
สามารถใช้เทคโนโลยี Podcast ในการพัฒนาระบบมัลติมิเดีย ซึ่งสามารถบันทึกและเผยแพร่ทาง RSS โดยสามารถฟังจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นพกพาได้ เช่น iPod

ข้อดีและการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน
- ผู้สอนสามารถนำมาใช้ร่วมกับ power point ในการบันทึกการบรรยายในชั้นเรียน และเผยแพร่ผ่านทาง RSS
- ผู้สอนสามารถบันทึกการสัมภาษณ์ในเนื้อหาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการสอนจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ หรือ ผู้สอนสามารถหาแหล่งข้อมูล Multimedia จากใน website ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนการสอนเพื่อเผยแพร่ไปยังผู้เรียน

4. Flickr
เป็นเว็บไซต์เพื่อทำการรวบรวมและเผยแพร่ภาพโดยการจัดเก็บรูปตามหมวดหมู่ และสามารถกำหนดสิทธิให้ผู้ที่จะเข้ามาตกแต่งรูปภาพภายใต้การควบคุมของเจ้าของรูป นอกจากนี้ยังสามารถร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มในรูปภาพต่าง ๆ ที่ได้ถูกรวบรวมไว้

ข้อดีและการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน
- ผู้เรียนและผู้สอนสามารถหารูปภาพที่ต้องการมาใช้ในการพัฒนาสื่อการสอนโดยการดาวโหลดภาพ เพื่อนำมาตกแต่งทำกราฟิกต่าง ๆ
- ผู้สอนสามารถกำหนดให้ผู้เรียนสร้างคลังรูปภาพของตนเอง และให้เพื่อน ๆ เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในรูปภาพดังกล่าวเพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายรูปของผู้เรียนได้

5. Social network
เป็นเว็บที่มีการเชื่อมโยงกันของบุคคลต่างๆ ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เป็นรูปแบบของสังคมประเภทหนึ่ง ที่ออนไลน์อยู่บนอินเตอร์เน็ต (Online Community) ซึ่งมีการขยายตัวแบบ Network หรือเครือข่าย โดยเป็นการรู้จักกันต่อไปเป็นทอดๆ คล้ายเครือข่ายใยแมงมุม ซึ่งทำให้มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆอยู่เสมอ ตัวอย่าง Website ดังกล่าวเช่น Hi5, Friendster, MySpace, FaceBook

ข้อดีและการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน
- ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้สื่อสารกันในกรณีที่ไม่เป็นทางการ
- ผู้สอนสามารถใช้ในการสร้างความคุ้นเคยกับผู้เรียนและติดตามฟฤติกรรม ความสนใจของผู้เรียนในด้านต่างๆ ทำให้ผู้สอนได้เข้าใจปัญหาในการเรียนและการใช้ชีวิตของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น

สิ่งที่ควรคำนึงถึง
- เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำเอาระบบ Social network มาใช้ในการล่อลวงในด้านต่าง ๆ ค่อนข้างสูง ซึ่งครูผู้สอนควรอธิบายทั้งข้อดีและข้อเสียของการใช้งานระบบดังกล่าวให้นักเรียนได้ทราบ และตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการเข้าใช้งานระบบ Social network

ตัวอย่าง Social network ของสมาชิกในกลุ่มที่ครูผู้สอนได้นำมาใช้เชื่อมโยงการเรียนรู้กับผู้เรียน
- http://kulachatrakul.hi5.com/ สำหรับนักศึกษาที่มี Social Networking "Hi5" ให้เข้ามา Add e-mail address ของอาจารย์ ซึ่งการเชื่อมโยงเครือข่ายดังกล่าวเพื่อไว้ติดต่อข่าวสารกันอย่างไม่เป็นทางการกับนักศึกษาส่วนนักศึกษาที่ไม่มีหรือไม่เคยใช้ hi5 ให้ศึกษาการสร้าง hi5 จากเพื่อนๆ
ผลตอบรับของนักศึกษาในการติดต่อกับอาจารย์ค่อนข้างดี นักศึกษาสนใจและเข้าใจการใช้เว็บให้เป็นประโยชน์มากขึ้น และรู้จักการใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการสลับกับความเพลิดเพลินกับชุมชนออนไลน์

6. Google Earth
คือโปรแกรมท่องโลกในรูปแบบ 3 มิติ ใช้สำหรับดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศพร้อมทั้งแผนที่ เส้นทาง และผังเมืองซ้อนทับลงในแผนที่ รวมทั้งระบบ GIS ในรูปแบบ 3 มิติ

ข้อดีและการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน
- ครู ผู้สอนทางด้านสังคมศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ควรจะใช้ Google Earth เป็นสื่อการสอนที่สำคัญเพิ่มเติม หรือทดแทนการสอนแบบเดิมในรูปแบบแผนที่ที่เป็นกระดาษ

เอกสารอ้างอิง
- http://www.digital-web.com/articles/web_2_for_designers/
- http://gotoknow.org/blog/web2dot0/30081
- http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A_2.0
- http://mfatix.com/home/node/113/print
- http://www.go2web20.net/
- http://elisu.gcal.ac.uk/blogs.htm
- http://www.se-ed.com/eShop/Rss/Default.aspx
- http://www.oknation.net/blog/print.php?id=19759
- http://www.expert2you.com/view_news.php?art_id=2847
- http://tatrionline.blogspot.com/2007/11/web-30-web-40-100.html

ไม่มีความคิดเห็น: